สํานักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

จังหวัดเชียงใหม่


เกี่ยวกับเรา

วิสัยทัศน์

กลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด มีฐานะเป็นตัวแทนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานระหว่างหน่วยงานราชการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นหน่วยสนับสนุนในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงาน ดังนี้

  1. พัฒนาระบบการบริหารงานและปรับบทบาทของกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด และอำเภอให้มีขีดความสามารถในการส่งเสริมความสามารถทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นส่วนกลางประสานการพัฒนา ระหว่างภาคราชการกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชน
  2. ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ปราศจากยาเสพติด ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และสามารถตอบสนองต่อปัญหา และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น อย่างสอดคล้องเหมาะสม
  3. ส่งเสริม และสนับสนุนประชาชนให้เกิดความตระหนักในความสำคัญและเข้ามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการท้องถิ่นของตนเอง

หน้าที่รับผิดชอบ

การจัดตั้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขึ้นใหม่ในกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พุทธศักราช 2545 เป็นการย้ำถึงเจตนารมย์ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการให้บริการแก่ประชาชน ดังภาระกิจต่อไปนี้

“การส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการพัฒนาให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง และการบริหารการจัดการ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณแก่ประชาชน”

  1. พัฒนาระบบการบริหารงานและปรับบทบาทของกลุ่มส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด และอำเภอให้มีขีดความสามารถในการส่งเสริมความสามารถทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นส่วนกลางประสานการพัฒนา ระหว่างภาคราชการกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชน
  2. ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง สามารถพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ปราศจากยาเสพติด ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และสามารถตอบสนองต่อปัญหา และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น อย่างสอดคล้องเหมาะสม
  3. ส่งเสริม และสนับสนุนประชาชนให้เกิดความตระหนักในความสำคัญและเข้ามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการท้องถิ่นของตนเอง